การตอบสนองโดยทั่วไป ของ มาตรการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เกี่ยวข้องกับสุกร

แหล่งที่มาของไวรัส

ตามข้อมูลของนักวิจัยซึ่งอ้างโดย เดอะนิวยอร์กไทมส์ "เมื่อศึกษาโครงสร้างพันธุกรรมของมันแล้ว ไม่มีคำถามเลยว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้เป็นประเภทหนึ่งของไข้หวัดใหญ่ในสุกร ซึ่งมีกำเนิดมาจากสายพันธุ์ซึ่งอาศัยอยู่ในสุกร"[4] จุดกำเนิดดังกล่าวทำให้มีการตั้งชื่อว่า "ไข้หวัดหมู" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันในสื่อมวลชนในช่วงแรกของการระบาด แต่ถึงแม้ว่าไวรัสจะกำเนิดมาจากสุกร แต่สายพันธุ์ของไวรัสในปัจจุบันก็ติดต่อจากคนสู่คนได้โดยไม่ต้องติดต่อกับสุกร[5]

ความปลอดภัยของอาหารและการสั่งห้ามการนำเข้า

เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศจาก CDC, องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การสาธารณสุขสัตว์โลก (OIE) และองค์การด้านอาหารอื่น ๆ ได้ยืนยันว่าเนื้อสุกรปลอดภัยต่อการบริโภค และไม่ควรกล่าวโทษสุกรว่าเป็นต้นเหตุของการระบาด อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 จีน รัสเซีย และอีกราว 12 ประเทศยังคงสั่งห้ามการนำเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐอเมริกา องค์การการค้าโลก (WTO) วางแผนจะหยิบยกเรื่องการสั่งห้ามสุกรในรายงานซึ่งกำลังมาถึงของลัทธิคุ้มครอง และกล่าวย้ำว่าเนื้อสุกรมิใช่ต้นเหตุของการระบาด และมีความปลอดภัยต่อการบริโภคหากเนื้อได้รับการเตรียมอย่างแหมาะสม[6] เจ้าหน้าที่สหรัฐบางส่วนพิจารณาว่าการสั่งห้ามดังกล่าวเป็น "เรื่องส่วนแบ่งการตลาดมากกว่าความกังวลด้านสาธารณสุข" และทำให้อุตสาหกรรมสุกรสูญเสียรายได้นับล้านดอลลาร์สหรัฐทุกสัปดาห์ แดฟ วอร์เนอร์ โฆษกสภาผู้ผลิตเนื้อสุกรแห่งชาติ ในวอชิงตัน ดี.ซี. ชี้ว่าความไม่ตกลงกันอันยาวนานกับจีนและรัสเซียอาจเป็นปัจจัยหนึ่ง[7][8][9][10]

ผลที่ตามมาคือ ราวกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 เนื้อสุกรกลายมาเป็นการลงทุนด้านโภคภัณฑ์ที่เลวร้ายที่สุดเป็นอันดับสองในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งการลงทุนอาจลดลงถึง 33 เปอร์เซนต์เมื่อถึงปลายปี การนำเข้าของสหรัฐตกลงอย่างฉับพลันถึง 20 เปอร์เซนต์ ในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2552 และกำลังนำไปสู่การถดถอยในรอบปีเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2533 บริษัทไทสันฟูดส์ ปิดกิจการโรงฆ่าสัตว์ และผู้เลี้ยงสุกรชาวอเมริกันไม่ได้รับผลตอบแทนที่ดีนักในปี พ.ศ. 2552 การนำเข้าจากสหรัฐลดลงถึง 38 เปอร์เซนต์ในรัสเซีย และ 73 เปอร์เซนต์ในจีน รวมทั้งฮ่องกง ตามข้อมูลของ USDA[11]

เมื่อถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 กลุ่มประเทศอาหรับสั่งจำกัดการนำเข้าเนื้อสุกรเหลือเพียงครึ่งเดียว[12]

การเฝ้าระวังประชากรสุกร

ในช่วงต้นมิถุนายน พ.ศ. 2552 กระทรวงการเกษตรของสหรัฐกล่าวว่ากระทรวงจะออกโครงการเฝ้าระวังเพื่อสอดส่องหาสายพันธุ์ใหม่ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสุกร ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับโลกได้ประเมินการความเสี่ยงว่าผู้เลี้ยงสุกรอาจเป็นแหล่งที่มาของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ต่ำเกินไป เลือกที่จะให้ความสำคัญกับภัยคุกคามจากไข้หวัดนก จนถึงปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขได้ดำเนินการเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ในสุกรน้อยมาก— ถึงแม้ว่าไวรัสจะพบได้ทั่วไปในสัตว์และสามารถติดต่อสู่คนได้ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ยังมีหลักฐานว่าติดต่อจากสุกรสู่คนและจากคนสู่สุกร[13]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มาตรการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เกี่ยวข้องกับสุกร http://www.thenational.ae/article/20090430/NATIONA... http://www.cbc.ca/canada/calgary/story/2009/07/20/... http://www.cbc.ca/canada/story/2009/05/02/swineflu... http://www.healthzone.ca/health/article/647016 http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&si... http://edition.cnn.com/2009/WORLD/meast/05/03/iraq... http://www.dailynk.com/english/read.php?cataId=nk0... http://gbcghana.com/news/25813detail.html http://www.google.com/hostednews/afp/article/ALeqM... http://www.google.com/hostednews/ap/article/ALeqM5...